วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แนะนำเว็บไซต์กีฬาเซปักตะกร้อsirirat386































































แนะนำเว็บไซต์ กีฬาตะกร้อ จากนิสิต ม.เกษตร โดยน.ส.ศิริรัตน์ ไตรรัตน์


ตะกร้อ

คำว่า"ตะกร้อ"หมายถึง "ของเล่นชนิดหนึ่งสานด้วยหวายสำหรับการเล่น เตะเล่น" ตะกร้อเป็นกีฬาที่ไม่ทราบแน่ชัดว่ากำเนิดในประเทศใด แต่นิยมเล่นมานานแล้วในหลายประเทศ เช่นไทย พม่า มาเลเซีย จีน มีลักษณะการเล่นที่เหมือนกันคือใช้เท้าเตะ หรือใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ชื่อที่ใช้เรียกตะกร้อ ก็เรียกกันไปตามภาษาของแต่ละประเทศ เช่น พม่า เรียกว่า ชินลง, จีน เรียกว่า เตกโก, มาเลเซีย เรียกว่า เซปัครากา, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า ซิปัก
วิวัฒนาการของตะกร้อในประเทศไทย ได้มีการวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยมีสมาคมกีฬาไทยเป็นผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งมีการเล่นและแข่งขันถึง6ประเภทคือ

1.ตะกร้อลอดห่วง

2.ตะกร้อวงเล็ก
3.ตะกร้อวงใหญ่

4.ตะกร้อพลิกแพลง (ติดตะกร้อ)

5.ตะกร้อเตะทน
6.ตะกร้อข้ามตาข่าย

กติกาเซปักตะกร้อ
สนาม

1. สนามมีขนาด 13.42 x 6.10 เมตร (44 x 22 ฟุต) ปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ วัดจากพื้นผิวมีความสูง 7.32 เมตร (25 ฟุต)

2. เส้นข้าง ความกว้างของเส้นทุกเส้นที่เป็นเขตของสนามไม่ควรจะกว้างกว่า 0.038 เมตร (1 นิ้ว) โดยวัดจากด้านในเส้นข้างทุกเส้น ควรจะให้ห่างจากสิ่งกีดขวางทั้งหมดระหว่าง 0.91 เมตร ถึง 1.82 เมตร (3-6 ฟุต)
3. เส้นกลางมีความกว้าง 0.038 เมตร (1 1/2 นิ้ว) และต้องลากแบ่งสนามด้านขวาและด้านซ้ายให้เท่า ๆ กัน
4. เสี้ยววงกลมที่สนาม ณ จุดแบ่งแดน ให้ลากเส้นเสี้ยววงกลมรัศมี 0.91 เมตร (3 ฟุต) จากเส้นข้างไปยังเส้นกลาง ความกว้างของเส้น 0.038 เมตร (1 1/2 นิ้ว) ควรวัดจากด้านนอกของเสี้ยววงกลม
5. วงกลมเสิร์ฟ รัศมี 0.31 เมตร (1 ฟุต) ให้ขีดวงกลมบนสนามด้านซ้ายและขวา โดยวัดห่างจากเส้นหลัง 2.44 เมตร (8 ฟุต) ห่างจากเส้นข้าง 3.05 เมตร (10 ฟุต) ความกว้างของเส้น 0.038 เมตร (1 1/2 นิ้ว) โดยวัดจากด้านนอกวงกลมเสิร์ฟ

สนามแข่งขัน
เสา

1. เสาให้มีความสูงจากพื้น 1.55 เมตร (5 ฟุต 1 นิ้ว) และให้เสาทั้งสองมีความมั่นคงเพียงพอที่จะขึงตาข่ายให้ตึงได้ เสาทังสองควรต้องทำจากวัสดุที่แข็งแรงมาก และจะต้องมีรัศมีไม่เกิน 0.038 เมตร (1 1/2 นิ้ว)
2. ตำแหน่งที่ตั้งของเสา เสาทั้งสองให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคง ห่างจากเส้นข้าง และตรงแนวเส้นกลางออกไป 0.31 เมตร (1ฟุต)
U1 = กรรมการผู้ตัดสิน 1
U2 = กรรมการผู้ตัดสิน 2
SL = ผู้กำกับเส้นข้าง
BL = ผู้กำกับเส้นหลัง
ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้ตัดสินและผู้กำกับเส้น
ตาข่าย
1. ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกธรรมดาอย่างดี หรือไนล่อน มีตากว้าง 1 1/2 นิ้ว (4 เซนติเมตร) ถึง 2 นิ้ว (5.3 เซนติเมตร)
ให้ตาข่ายมีความกว้าง 0.72 เมตร (2 ฟุต 4 นิ้ว) และมีความยาวไม่เกินกว่า 6.71 เมตร (22 ฟุต) ให้มีขอบเป็นแถบกว้าง 2 นิ้ว (5.3 เซนติเมตร) ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกหรือสายเคเบิลอย่างดีร้อยผ่านแถบ และขึงตึงได้ฉากกับแนวยอดเสา ส่วนบนสุดของตาข่ายจะมีความสูงจากพื้น ณ จุดกึ่งกลาง 1.524 เซนติเมตร (5 ฟุต) และที่เสาสูง 1.55 เมตร (5 ฟุต 1 นิ้ว)

2. เครื่องหมายแสดงเขตสนาม ให้มีแถบเส้นที่เคลื่อนไหวได้กว้าง 5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) ติดไว้เป็นเส้นตรง ณ ส่วนสุดทั้ง 2 ข้างของตาข่าย เป็นแนวตรงเส้นข้างและตรงเส้นกึ่งกลาง
ลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อต้องเป็นลูกกลม ทำด้วยเส้นหวายสานขนาด 9.11 เส้น มีรู 12 รู เส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 0.41 เมตร (16 นิ้ว) และต้องไม่เกินกว่า 0.43 เมตร (17 นิ้ว) น้ำหนักก่อนเล่นจะต้องไม่น้อยกว่า 160 กรัม และไม่มากกว่า 180 กรัม
ผู้เล่น

1. กีฬาชนิดนี้เป็นการเล่นระหว่าง 2 ที ประกอบด้วยผู้เล่นในแต่ละฝ่าย ๆ ละ 3 คน
2. ผู้เล่นคนหนึ่งในสามคนนั้นจะต้องยืนอยู่ส่วนหลัง โดยทั่วไปเรียกว่า แบ็ค (มาเลเซียเรียกว่า "เตบอง")
3. ผู้เล่นอีกสองคนหน้า คนหนึ่งอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า หน้าซ้าย และอีกคนหนึ่งอยู่ด้านขวาเรียกว่า หน้าขวา
การเปลี่ยนแทน

1. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น จะต้องยืนขอเปลี่ยนโดยผู้จัดการทีมเสนอต่อกรรมการเจ้าหน้าที่
2. แต่ละทีมอนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้ทีมละครั้งเดียวเท่านั้น (ทีม เอ. ทีม บี. ทีม ซี. ทีมละ 1 ครั้ง)
เครื่องแต่งกายของผู้เล่น
1. ผู้เล่นต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และรองเท้ายาง (พื้นและส้นจะต้องเป็นยางหรือยางเทียม) ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตราย แก่คู่ต่อสู้ในระหว่างการเล่น
ในกรณีที่อากาศหนาว ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชุดวอร์มได้
2. ส่วนต่าง ๆ ของเครื่องแต่งกายทั้งหมดของผู้เล่นถือว่าเป็นส่วนของร่างกาย
3. สิ่งใดก็ตามที่จะเร่งความเร็วของลูกตะกร้อหรือช่วยการเคลื่อนไหวของผู้เล่นจะไม่อนุญาตให้ใช้
ตำแหน่งผู้เล่น

1. เมื่อเริ่มเล่น ผู้เล่นทั้งสองทีมจะต้องยืนอยู่ในที่ของตน

2. ในการส่งลูกครั้งแรก ให้ผู้เล่นหลังยืนอยหู่ในวงกลมเสิร์ฟ ขณะที่หน้าซ้ายและหน้าขวายืนอยู่ในเสี้ยววงกลมของตน
3. ฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ภายในคอร์ตของตน
4. ในทันใดที่กองหน้าโยนลูกให้กองหลังเสิร์ฟ ผู้เล่นทั้งหลายสามารถเคลื่อนไหวยืนอยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ได้ ภายในคอร์ตของตน
เจ้าหน้าที่
1. กรรมการเจ้าหน้าที่ 1 นาย
2. กรรมการผู้ตัดสิน 1 นาย
3. กรรมการกำกับเส้นตรงกลาง 1 นาย
4. กรรมการกำกับเส้น 6 นาย
การเสี่ยง
ก่อนเริ่มการแข่งขัน ให้กรรมการผู้ตัดสินเริ่มด้วยการเสี่ยง ฝ่ายที่ชนะในการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกเป็นฝ่ายส่งก่อน หรือจะเลือกแดนก็ได้
การเริ่มเล่นและส่งลูกครั้งแรก
1. ให้นับเป็นการเริ่มเล่นในทันทีที่กองหน้าโยนลูกให้กองหลัง หลังจากที่กรรมการได้ขานแต้มแล้ว

2. ในการส่งลูกครั้งแรก ให้กองหลังวางเท้าข้างหนึ่งอยู่ในวงกลม เท้าอีกข้างหนึ่งต้องอยู่นอกวงกลมเพื่อส่งลูก
3. กองหน้าทั้งสองคน จะต้องอยู่ในเสี้ยววงกลมของตน จนกว่ากองหลังจะเดาะลูกแล้ว
4. ฝ่ายที่เลือกส่งก่อนจะเป็นฝ่ายเริ่มส่งในเกมแรก
5. ให้เตะลูกทันทีที่กองหน้าโยนลูกมา ทันทีทันใดที่ได้เสิร์ฟลูกแล้วผู้เล่นทุกคนอนุญาตให้เคลื่อนไหวได้ภายในคอร์ตของตน
6. การส่งลูกครั้งแรกให้ถือว่าเป็นลูกดี เมื่อลูกข้ามตาข่าย (ไปตกลงในแดนตรงข้าม) ไม่ว่าลูกจะถูกตาข่ายหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องตกภายในอาณาเขตของคอร์ต
7. ให้ส่งลูกทันทีที่กรรมการขานแต้มแล้ว ถ้าผู้ส่งคนใดส่งลูกก่อนกรรมการขานแต้ม จะต้องส่งลูกใหม่ และกรรมการจะเตือนฝ่ายผู้ส่งนั้น
8. การปฏิบัติในการส่งลูก (เสิร์ฟลูก) แบ็คจะส่งในลักษณะอาการอย่างใดก็ได้
การผิดกติกา
1. ฝ่ายผู้ส่งระหว่างเสิร์ฟลูก
1.1 ผู้เล่นคนใดเหยียบเส้นเสี้ยววงกลม เส้นกลางเส้นข้าง หรือวงกลมส่งลูก
1.2 ลูกถูกตาข่ายและไม่ข้ามตาข่าย
1.3 ลูกลอดใต้ตาข่าย
1.4 คนส่งลูกโดยเล่นลูก (โยนเล่น เดาะเล่น ส่งลูกให้กองหน้าอีกคนหนึ่ง ฯลฯ) หลังจากกรรมการขานแต้มแล้ว
1.5 ลูกข้ามตาข่ายไปแล้ว แต่ไปตกนอกคอร์ต
1.6 ลูกถูกผู้เล่นฝ่ายตนก่อนข้าไปยังฝ่ายตรงข้าม
1.7 เมื่อผู้ส่งส่งลูกแล้ว กองหลังไม่ได้เตะลูก
2. ฝ่ายรับระหว่างเสิร์ฟลูก
2.1 ยืนอยู่นอกสนาม
2.2 เดินไปเดินมาในลักษณะยั่ว หรือทำเสียง หรือตั้งใจกระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียสมาธิ

3. ทั้งสองฝ่ายในระหว่างแข่งขัน
3.1 เหยียบเส้นกลาง
3.2 ลูกตกในหรือนอกสนาม
3.3 ลูกถูกตาข่าย และไม่ข้าไปยังฝ่ายตรงข้าม
3.4 ลูกถูกมือหรือ แขน
3.5 คีบลูกไว้ใต้แขนหรือขา
3.6 ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย หรือเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถูกตาข่ายหรือถูกเสา
3.7 ผู้เล่นลูกเกินกว่า 3 ครั้ง
3.8 เครื่องแต่งกายของผู้เล่นส่วนใด ๆ เช่น รองเท้า หรือผ้าโพกศีรษะตกไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม
3.10 ลูกไม่ไดข้ามตาข่ายภายในเขตของแถบผ้า
3.11 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดถูกลูกในแดนของคู่ต่อสู้
3.12 ลูกกระทบเพดาน หลังคา หรือฝาผนัง
3.13 ส่วนใด ๆ ของร่างกายผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของคู่ต่อสู้ ไม่ว่าบนหรือใต้ตาข่ายก็ตาม ยกเว้นเฉพาะลูกตามเท่านั้น
3.14 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจถ่วงเวลาการเล่นโดยไม่จำเป็น
เปลี่ยนส่ง
1. ให้เปลี่ยนส่งเมื่อฝ่ายส่งเป็นฝ่ายติดกติกาข้อใด ๆ ก็ตาม
2. ให้เปลี่ยนส่งเมื่อฝ่ายรับเป็นฝ่ายฆ่าลูกโต้กลับไป

การให้แต้ม
การให้แต้มแก่ทีมที่เมื่อฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายผิดกติกา


การนับแต้ม
1. แต้มชนะในเกมหนึ่ง ๆ คือ 15 แต้ม

2. หลังจากชนะการแข่งขันแต่ะลเกม ทั้งสองทีมจะต้องเปลี่ยนข้าง การเปลี่ยนข้างจะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการแข่งขันเกมที่สาร (รับเบอร์เซต) ในขณะที่ทีมหนึ่งทำแต้มไปได้ 8 แต้มแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าลืมเปลี่ยนข้าง ณ จุดนี้ สำหรับรับเบอร์เซตก็ให้เปลี่ยนข้างในทันทีทันใดที่นึกขึ้นได้และคงให้นับแต้มต่อไปตามเดิมต่อจากแต้มที่นับมาแล้ว
3. ถ้าแต่ละทีมชนะในแต่ละเกม ก็ให้ตัดสินการแข่งขันในเกมที่สาม (รับเบอร์เซต)

4. เมื่อทั้งสองทีมทำแต้มได้ 13 ฝ่ายที่ได้ 13 ก่อนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเล่นต่อไปอีก 5 แต้ม และในกรณีได้ 14 แต้ม ฝ่ายที่ได้ 14 แต้มก่อนมีสิทธิ์ที่จะเลือกเล่นต่อไปอีก 3 แต้ม
5. เมื่อการเล่นดำเนินมาถึงจุดเท่ากัน แต้มจะขายว่า ศูนย์-ศูนย์ และฝ่ายที่ได้ 5 แต้มก่อนแล้วแต่กรณี 13 เท่าหรือ 14 เท่า จะเป็นฝ่ายชนะ
6. ฝ่ายที่ปฏิเสธที่จะรับเอาสิทธิ์เลือก สำหรับเมื่อแต้มเท่ากันในโอกาสแรกจะไม่มีสิทธิ์เลือกอีก ถ้าหากแต้มเกิดมาเท่ากันอีกในครั้งที่สอง

อุบัติเหตุ/การหยุดพักการแข่งขัน
1. กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันชั่วขณะหากเกิดอุปสรรคขัดขวาง หรือเกิดอุบัติเหตุได้เป็นเวลาไม่เกินกว่า 5 นาที
2. ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ห้ามไม่ให้ผู้เล่นทุกคนออกนอกสนาม หรือดื่มเครื่องดื่มใด ๆ หรือรับการช่วยเหลือไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น

วินัย

1. ผู้เล่นทุกคนต้องปฏิบัติตามกติกา
2. เฉพาะหัวหน้าทีม (กัปตัน) เท่านั้น ที่จะอนุญาตให้ประท้วงต่อกรรมการผู้ตัดสินได้ในระหว่างการแข่งขัน

บทลงโทษ
1. เข้าไปประท้วงในลักษณะกริยาที่ไม่สมควรต่อเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการตัดสินใด ๆ ก็ตาม
2. กล่าวคำหยาบต่อเจ้าหน้าที่คนใดก็ตาม
3. ปฏิบัติการใดที่เป็นการแสดงอิทธิพลเหนือกว่าการตัดสินของเจ้าหน้าที่
4. กระทำการใด ๆ อันไม่จำเป็น หรือกล่าวคำไม่สมควรเป็นการดูถูกฝ่ายตรงข้าม
5. ออกนอกสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการผู้ตัดสิน (ยกเว้นระหว่างเกมที่ 2 และ 3
6. ส่งลูกให้ฝ่ายตรงข้ามด้วยเท้า
7. แสดงความประพฤติที่ไม่สุภาพ
8. ผู้เล่นไม่เชื่อฟังระเบียบและกติกาการเล่น
9. ผู้เล่นที่ไม่เชื่อฟังกติกา อาจจะได้รับการเตือนจากกรรมการผู้ตัดสิน อาจใช้วิธีเตือนโดยบัตร ดังนี้
9.1 ตักเตือน - บัตรเหลือง
9.2 ขับออกจากสนาม - บัตรแดง


หมายเหตุ ผู้ที่ได้รับการเตือนโดยบัตรสีแดง จะถูกให้ออกจากสนาม และนำเอาบทบัญญัติเรื่องวินัยมาใช้บังคับแก่
บุคคลนั้น การเปลี่ยนตัวจะอนุญาตให้กระทำได้ และผู้เล่นนี้จะไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขันในเกมต่อ ๆ ไป
จนกว่ากรรมการตัดสินชี้ขาดจะได้วินิจฉัยโดยกรรมการทางวินัยเรียบร้อยแล้ว




แหล่งที่มา http://www.geocities.com/sportcu/tekkau.html

17 ความคิดเห็น:

Issaraporn กล่าวว่า...

เยี่ยมเลยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

เพ่น้องงงงงงงง

Tunyawat กล่าวว่า...

หาข้อมูลมาใส่เยอะๆหน่อย

แก้ไขด้วย

นายธัญญวัฒน์ เทียมเกรียงไกร

punsang กล่าวว่า...

รูปน้อยไปหน่อย เนื้อหาอ่านง่าย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คุณน่าจะทำได้ดีกว่านี้55+ เเต่ก็พอใช้ได้
เเต่คนทำยังต้องปรับปรุงน่าตา

natapon กล่าวว่า...

เนื้อหาดีเเล้ว เเต่รูปน้อย

chatree261 กล่าวว่า...

ดีครับ อ่านง่าย

thanawat016 กล่าวว่า...

เนื้อหาดีเเล้ว เเต่รูปน้อย

Q กล่าวว่า...

ก็ดีคับ มี สาระดี

Q กล่าวว่า...

ก็ดีคับ มี สาระดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีๆๆๆๆๆเฮียชอบ................555+

kittipong220 กล่าวว่า...

เยี่ยมเลย รูปน้อยไปหน่อย เนื้อหาอ่านง่าย

patcharee172 กล่าวว่า...

ดีแล้วจ๊ะ

chadaporn246 กล่าวว่า...

รูปน้อยนะจะ

worarat248 กล่าวว่า...

โอเคคร๊าบ อ่านง่ายดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โอ้ว ม่ะน่าเชื่อ เค้า
ทามได้
ของเค้าดีจิง

duriya303 กล่าวว่า...

โดยรวมแล้วใช้ได้ แต่ยังขาดรูป

Benjapan011 กล่าวว่า...

ดีมากมายคัพหล่อเจอร์ เนื้อหาดี รูปภาพสวยคัพ